ATK VS PCR
Rapid Antigen Test เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยอุปกรณ์ทดสอบอย่างง่ายและรวดเร็ว คล้ายกับชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองที่สามารถใช้ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ศูนย์ตรวจในชุมชน
ข้อดีของการตรวจ ATK
การตรวจแบบ ATK ใช้งานง่าย และทราบผลรวดเร็ว โดยจะแสดงผลตรวจภายในเวลาประมาณ 30 นาที เหมาะสำหรับให้คนทั่วไปใช้งาน โดยมักใช้เพื่อคัดกรองเชื้อเบื้องต้นสำหรับผู้ต้องสงสัยจะติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการป่วย เพื่อให้ผู้ติดเชื้อได้รู้ตัวและเข้าสู่กระบวนการกักตัว และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
ข้อเสียของการตรวจ ATK
การตรวจแบบ ATK ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอในการใช้ตรวจประชากรจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ
อย่างไรก็ตาม การตรวจวิธีนี้ไม่สามารถตรวจหาเชื้อที่มีปริมาณน้อยได้ ซึ่งหมายความว่า หากคุณเพิ่งจะติดเชื้อ หรืออยู่ในระยะฟักตัวของโรค หรือหากคุณเพิ่งจะหายจากโรค การตรวจก็อาจไม่แสดงผลเป็นบวก
การตรวจ RT-PCR
การตรวจ RT-PCR ย่อมาจาก real time polymerase chain reaction หรือปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบเรียลไทม์ ถือเป็นวิธีการตรวจเชื้อที่แม่นยำที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยตรวจจับกรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid) หรือ อาร์เอ็นเอ (RNA) ของเชื้อโรค ซึ่งเป็นโมเลกุลลักษณะเดียวกับดีเอ็นเอ
ตารางเปรียบเทียบ ATK vs RT-PCR
RT-PCR | ATK | |
---|---|---|
จุดประสงค์ | ใช้ตรวจผู้แสดงอาการ | ใช้บ่งชี้ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ |
วิธีทำ | ใช้ไม้สวอบเก็บตัวอย่างเชื้อในจมูก หรือ ลำคอ | ใช้ไม้สวอบเก็บตัวอย่างเชื้อในจมูก หรือ ลำคอ |
การตรวจ | นำไม้สวอบจุ่มลงในน้ำยาแล้วส่งให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ | นำไม้สวอบจุ่มลงในหลอดน้ำยาสกัด หรือหยอดน้ำยาในตลับตรวจ |
ระยะเวลารอผล | 1-3 วัน | 20 – 30 นาที |
การตรวจ PCR ต้องทำในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (ห้องแล็บ) เพื่อตรวจหา RNA ที่มีปริมาณน้อยมาก และมักได้ผลออกมาภายใน 24 ชั่วโมง
ผู้แสดงอาการจะต้องเข้ารับการตรวจยืนยันด้วยวิธี PCR เพราะการตรวจแบบแสดงผลเร็ว ATK มักใช้ตรวจคัดกรองผู้สงสัยติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ
โดยการตรวจแบบ ATK จะตรวจจับโปรตีนซึ่งปรากฏอยู่ในร่างกายผู้ที่ติดเชื้อ